การอนุรักษ์และเพิ่ม พื้นที่สีเขียว ในหลายๆประเทศทั่วโลก

การอนุรักษ์และเพิ่ม พื้นที่สีเขียว ในหลายๆประเทศทั่วโลก

พื้นที่สีเขียว
เพิ่มพื้นที่สีเขียว

เราทุกคนรู้ดีว่าจะต้องช่วยกันอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ หรือ พื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหนรับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในอนาคต เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะเห็นสิ่งสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพื่อให้คงอยู่ได้อย่างยืนยาว

              พื้นที่สีเขียว ในปัจจุบันนี้ทั่วโลกเริ่มมีการปรับการใช้ชีวิตแบบใหม่โดยการทำความเข้าใจว่าสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญกับการใช้ชีวิตของเราอย่างไร ซึ่งประเทศสิงคโปร์เริ่มเป็นผู้นำด้านเมืองสีเขียวอันดับหนึ่งของเอเชีย เริ่มจัดให้มีการอนุรักษ์และจำกัดการใช้งานของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแผนการของประเทศสิงคโปร์ง่ายๆเลยคือการทำให้ อากาศนั้นบริสุทธิ์ ทำให้น้ำสะอาด และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในประเทศแคนนาดา ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากน้ำที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นและยังมีการใช้งานในเมือง ด้วย และทีมปฏิบัติการต่างๆยังได้รับรางวัลและได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก มาต่อกันที่ประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลายคนอาจจะประหลาดใจ กรุงเทพมหานครนั้นได้รับการรับรองเนื่องจากมีเมืองสีเขียวที่เรียกว่า ปอดกลางเมือง ที่บางกระเจ้า เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นธรรมชาติจากต้นไม้ มีทางยกระดับเพื่อให้เป็นพื้นที่ปั่นจักรยานให้ผู้คนได้สัมผัสกับธรรมชาติตลอดทั้งปี ในบราซิลเป็นอีกประเทศที่มีความยั่งยืนในเรื่องของการวางผังเมือง เมืองนี้มีระบบขนส่งที่มีคุณภาพ มีเส้นทางให้ปั่นจักรยานที่เด่นชัด และยังมีพื้นที่สีเขียวทั้งหมดสิบสองเอเคอร์สำหรับทุกๆหนึ่งพันคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก

ในกรุงลอนดอกเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความเจริญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่มีเอกลักษณ์และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมามากมาย และยังมีการอนุรักษ์ป่าไม้โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเข้ามา และยังมีสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นอีกทุกปี ยังมีการส่งเสริมการใช่แหล่งพลังงานทดแทนเสมอ โดยกรุงลอนดอนนั้นตั้งเป้าที่จะเป็นเมืองปลอดคาร์บอนภายในหนึ่งทศวรรษอีกด้วย

ในเมืองอัสเตอร์ดัมได้รับการยกย่องในเรื่องของความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิตแบบสีเขียว และในเรื่องของความสะอาด ภายในตัวเมืองอัสเตอร์ดัมนั้นจะมีถังขยะอยู่ทุกมุมของตึกและเสาไฟฟ้า และยังเป็นที่เลืองลือในเรื่องของจักรยาน เพราะเมืองนี้นั้นมีจักรยานมากกว่าจำนวนคนในเมืองเลยทีเดียว เมืองโคเปนเฮเกน ก็ให้การสนับสนุนกับการใช้จักรยานเช่นกัน และยังมีอาคารที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมือง สตอกโฮล์ม มีความก้าวหน้ามากในเรื่องของโรงงานก๊าซชีวภาพ โดยเมืองสตอกโฮล์มจะมุ่งเน้นเป็นเมืองปลอดเชื้อเพลิงภายในเร็วๆนี้

เรคยาวิก ในไอซ์แลนด์ เป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นมาก จึงมุ่งเน้นในเรื่องของการผลิตไฟฟ้าที่ให้ความร้อน และน้ำร้อน ซึ่งใช้ผลิตจากแหล่งพลักงานความร้อนใต้พิภพ

เมืองเคปทาวน์ เป็นอีกประเทศที่มีพื้นที่สีเขียวเยอะ เป็นประเทศที่อนุรักษ์ธรรมชาติและมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เป็นเมืองที่สะอาดนักท่องเที่ยวเยอะ และมีการณรงค์เพื่อใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มมีการนำหลักการของประเทศอื่นๆมาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ป่าไม้ให้เกิดพื้นที่สีเขียว โดยการนำหลักการของสิงค์โปร์มาใช้เป็นแนวทางคือ การจำกัดผลพิษทางอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ เพื่อให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์และทำให้มีน้ำสะอาดเพิ่มขึ้น ใช้พื้นที่ต่างๆให้เกิดประโยชน์โดยการเชิญชวนประชาชนช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่ม

ซึ่งพื้นที่สีเขียวนั้นสำคัญมากในปัจจุบันของเรา เพราะโลกของเราได้สูญเสียต้นไม้ต่างๆไปอย่างมากมายและในปัจจุบันได้มีการกลับมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อทำให้บรรยากาศของโลกเรานั้นกลับมาดีขึ้น พื้นที่สีเขียวจึงสำคัญมาก สามารถใช้ประโชน์จากพื้นที่สีเขียวได้หลายอย่าง เป็นที่ออกกำลัง เป็นที่นอนพักผ่อน เพื่อความสบายใจ และยังช่วยทำให้โลกของเราหน้าอยู่เพิ่มขึ้นด้วย

ประโยชน์ของการสร้าง พื้นที่สีเขียว จากต้นไม้

ประโยชน์ของการสร้าง พื้นที่สีเขียว จากต้นไม้

พื้นที่สีเขียว
ประโยชน์ พื้นที่สีเขียว

การเพิ่ม พื้นที่สีเขียว ให้กับเมืองหลวงของประเทศไทยอย่างกรุงเทพฯไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกรุงเทพฯนั้นได้ประสบกับปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางด้านอื่นอีก แต่ก่อนนั้นกรุงเทพฯได้ขึ้นแท่นอันดับ 10 ของโลกที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดแต่ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว ได้มีการสร้างตึกอาคารบ้านเรือน ไปจนถึงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรุงเทพฯไม่สามารถควบคุมมลพิษต่างๆได้และไม่สามารถอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวไว้ได้อย่างในอดีต ทำให้มีผลกระทบต่างๆตามมา อย่างเช่น ฝุ่น PM2.5 ที่ประสบปัญหากันทั่วโลก แต่แทนที่กรุงเทพฯของเรานั้นจะช่วยลดปัญหาฝุ่นนี้ได้ กลับไม่ใช่ ยังทำให้ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมากขึ้นติดอันดับ 10 ของโลกแทน ปัญหานี้สะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงประชากรทุกคนไม่ได้ให้ความร่วมมือมากเท่าที่ควรจะเป็น และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการรณรงค์ทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ลดผลกระทบต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นในบริเวณที่ไม่ได้ใช้สอย การปลูกต้นไม้หรือนำต้นไม้ที่มีการปลูกใส่กระถางนั้นมาวางไว้ในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวางไว้หน้าสถานที่ทำงานต่างๆ หรือจะวางไว้ในที่จอดรถที่มีบริเวณที่วางแค่นี้ก็สามารถช่วยทำให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นได้แล้ว ลองคิดดูหากเราทุกคนช่วยกันปลุกต้นไม้ เห็นต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรทำลาย กรุงเทพฯของเราก็จะหน้าอยู่มากขึ้น นอกจากการปลูกต้นไม้แล้วยังมีการกำหนดแผนที่หรือแผนผังต่างๆ วางแผนบูรณาการใหม่ วิเคราะห์ศักยภาพปัญหาและข้อจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดแผนการที่ตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ละตำแหน่ง กำหนดสัดส่วนต่างๆเพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพต่างๆของพื้นที่นั้น

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยจะพิจารณาแนวทางจากปัญหามลพิษในแต่ละพื้นที่ ที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความแตกต่างกันน้อยจนไปถึงมาก เช่น หากต้องการต้นไม้ที่ช่วยดักจับฝุ่นละอองต่างๆภายในอากาศควรเน้นต้นไม้ที่มีลักษณะที่มีใบหนา ผิวใบหยาบสาก หรือใบมีขนจะช่วยดักจับฝุ่นละอองได้ดีกว่า ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย และถ้าหากใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่จะสามารถช่วยดักจับฝุ่นได้มากขึ้น

ในการเลือกต้นไม้นั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของพันธุ์ไม้ด้วยว่าเหมาะสมกับพื้นที่ในแต่ละแห่งไหม เพราะการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองนั้น ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนและมีประสิทธิเพิ่มขึ้นได้ โดยจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกันมากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นพันธุ์ไม้สำหรับปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวหรือการปรับสมดุลทางอากาศใหม่ จะต้องมีการแบ่งประเภทตามคุณสมบัติและคุณประโยชน์ต่างๆอีกด้วย

ต้นไม้ที่กำหนดในพื้นที่ต่างๆที่จะกำหนดเอาไว้ปลูกในพื้นที่ ที่จัดไว้แล้วนั้นจะเริ่มจากไม้ยืนต้นที่มีเนื้อไม้มาก ไม้เนื้อแข็งปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงาเพราะมีลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง ควรมีความสูงไม่เกินตามที่กำหนดคือ 15 เมตร เช่น ต้นมะม่วง ต้นจามจุรี ต้นหูกวาง ต้นหูกระจง ต้นไทร ต้นประดู่ และยังมีอีกมากมายในกระบวนการสังเคราะห์ของต้นไม้ยืนต้นนั้นมีความสำคัญ เพราะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนที่ดูดซับไว้ในรูปของเนื้อไม้ ซึ่งการวิจัยนั้นได้ออกมาเปิดเผยว่า การที่ต้นไม้สามารถสร้างเนื้อไม้ได้หนัก 1 ตัน จะหมายความว่า ต้นไม้ดังกล่าวจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงประมาณ 1.83 ตันต่อปี และยังเพิ่มก๊าซออกซิเจนมาสู่ธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.33 ตันต่อปี และต้นไม้ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถช่วยกรองแสงแดดและลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ และคายความเย็นจากใบสู่สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย