ประโยชน์ของการสร้าง พื้นที่สีเขียว จากต้นไม้
การเพิ่ม พื้นที่สีเขียว ให้กับเมืองหลวงของประเทศไทยอย่างกรุงเทพฯไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกรุงเทพฯนั้นได้ประสบกับปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางด้านอื่นอีก แต่ก่อนนั้นกรุงเทพฯได้ขึ้นแท่นอันดับ 10 ของโลกที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดแต่ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว ได้มีการสร้างตึกอาคารบ้านเรือน ไปจนถึงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรุงเทพฯไม่สามารถควบคุมมลพิษต่างๆได้และไม่สามารถอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวไว้ได้อย่างในอดีต ทำให้มีผลกระทบต่างๆตามมา อย่างเช่น ฝุ่น PM2.5 ที่ประสบปัญหากันทั่วโลก แต่แทนที่กรุงเทพฯของเรานั้นจะช่วยลดปัญหาฝุ่นนี้ได้ กลับไม่ใช่ ยังทำให้ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมากขึ้นติดอันดับ 10 ของโลกแทน ปัญหานี้สะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงประชากรทุกคนไม่ได้ให้ความร่วมมือมากเท่าที่ควรจะเป็น และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการรณรงค์ทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ลดผลกระทบต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นในบริเวณที่ไม่ได้ใช้สอย การปลูกต้นไม้หรือนำต้นไม้ที่มีการปลูกใส่กระถางนั้นมาวางไว้ในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวางไว้หน้าสถานที่ทำงานต่างๆ หรือจะวางไว้ในที่จอดรถที่มีบริเวณที่วางแค่นี้ก็สามารถช่วยทำให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นได้แล้ว ลองคิดดูหากเราทุกคนช่วยกันปลุกต้นไม้ เห็นต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรทำลาย กรุงเทพฯของเราก็จะหน้าอยู่มากขึ้น นอกจากการปลูกต้นไม้แล้วยังมีการกำหนดแผนที่หรือแผนผังต่างๆ วางแผนบูรณาการใหม่ วิเคราะห์ศักยภาพปัญหาและข้อจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดแผนการที่ตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ละตำแหน่ง กำหนดสัดส่วนต่างๆเพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพต่างๆของพื้นที่นั้น
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยจะพิจารณาแนวทางจากปัญหามลพิษในแต่ละพื้นที่ ที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความแตกต่างกันน้อยจนไปถึงมาก เช่น หากต้องการต้นไม้ที่ช่วยดักจับฝุ่นละอองต่างๆภายในอากาศควรเน้นต้นไม้ที่มีลักษณะที่มีใบหนา ผิวใบหยาบสาก หรือใบมีขนจะช่วยดักจับฝุ่นละอองได้ดีกว่า ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย และถ้าหากใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่จะสามารถช่วยดักจับฝุ่นได้มากขึ้น
ในการเลือกต้นไม้นั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของพันธุ์ไม้ด้วยว่าเหมาะสมกับพื้นที่ในแต่ละแห่งไหม เพราะการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองนั้น ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนและมีประสิทธิเพิ่มขึ้นได้ โดยจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกันมากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นพันธุ์ไม้สำหรับปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวหรือการปรับสมดุลทางอากาศใหม่ จะต้องมีการแบ่งประเภทตามคุณสมบัติและคุณประโยชน์ต่างๆอีกด้วย
ต้นไม้ที่กำหนดในพื้นที่ต่างๆที่จะกำหนดเอาไว้ปลูกในพื้นที่ ที่จัดไว้แล้วนั้นจะเริ่มจากไม้ยืนต้นที่มีเนื้อไม้มาก ไม้เนื้อแข็งปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงาเพราะมีลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง ควรมีความสูงไม่เกินตามที่กำหนดคือ 15 เมตร เช่น ต้นมะม่วง ต้นจามจุรี ต้นหูกวาง ต้นหูกระจง ต้นไทร ต้นประดู่ และยังมีอีกมากมายในกระบวนการสังเคราะห์ของต้นไม้ยืนต้นนั้นมีความสำคัญ เพราะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนที่ดูดซับไว้ในรูปของเนื้อไม้ ซึ่งการวิจัยนั้นได้ออกมาเปิดเผยว่า การที่ต้นไม้สามารถสร้างเนื้อไม้ได้หนัก 1 ตัน จะหมายความว่า ต้นไม้ดังกล่าวจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงประมาณ 1.83 ตันต่อปี และยังเพิ่มก๊าซออกซิเจนมาสู่ธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.33 ตันต่อปี และต้นไม้ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถช่วยกรองแสงแดดและลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ และคายความเย็นจากใบสู่สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย